fbpx

คำถามที่พบบ่อย

Q : ไม่ได้รับใบเเจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือได้รับล่าช้าเกินวันครบกำหนดไปเเล้ว?
1. ตรวจสอบที่อยู่ของลูกค้าว่าถูกต้องกับข้อมูลที่ให้ไว้กับธนาคารหรือไม่
2. สอบถามว่าได้รับบัตรบาร์โค้ดหรือยัง ถ้ายังไม่ได้รับให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีสินเชื่อ หรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลลูกหนี้
3. แจ้งภาระหนี้ค่างวด โดยดูจากใบแจ้งหนี้ในระบบ เพื่อให้ลูกหนี้ไปชำระโดยใช้ใบแจ้งหนี้ของเดือนก่อนได้
4. ถ้าลูกค้าสะดวกที่ไปที่สาขาได้ ให้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอใบแจ้งหนี้ซึ่งสาขาสามารถพิมพ์ใบแจ้งหนี้ได้เอง หรือไปชำระหนี้ที่สาขาได้เลย
5. ติดต่อเจ้าหน้าที่


Q : ลูกหนี้ขอสำเนาใบเสร็จรับเงิน/Statement/หนังสือรับรองภาระหนี้?
มีค่าธรรมเนียมที่ธนาคารต้องเรียกเก็บ ฉบับละ 50 บาท Statement คิดเป็นรายสัญญา ส่วนหนังสือรับรองภาระหนี้ คิดเป็นรายลูกค้า ซึ่งจะรวมทุกสัญญาอยู่ในฉบับเดียว


Q : สอบถามเรื่องค่า บสย./ค่าเบี้ยประกันภัย ลูกค้าชำระเเล้ว เเต่ยังมีการเเจ้งเรียกเก็บอีก?
สอบถามยอดการชำระของลูกค้าหรือให้ลูกค้าส่งหลักฐานการชำระเงินเข้ามา เพื่อให้ฝ่ายบัญชีสินเชื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน


Q : สินเชื่อเเฟคตอริ่ง (Faotoring) คืออะไร?
เป็นสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้นประเภทหนึ่ง สำหรับธุรกิจทุกประเภท ที่มีการค้าแบบเครดิตเทอม มีการส่งมอบสินค้า/บริการ และวางบิลเรียบร้อยแล้ว โดยการนำลูกหนี้การค้ามาโอนสิทธิการรับเงินให้กับบริษัทแฟคเตอร์ แล้วรับเงินไปหมุนเวียนในกิจการ ตลอดจนบริษัทแฟคเตอร์จะรับภาระในการจัดเก็บเงินเมื่อหนี้นั้นครบกำหนดการชำระเงิน


Q : ค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักประกันเป็นเงินเท่าไร?
บริษัทประเมินอิสระจะคิดค่าธรรมเนียมการประเมินตามประเภทของทรัพย์สินที่ประเมิน ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ขอสินเชื่อจะต้องโทรศัพท์ติดต่อกับบริษัทผู้ประเมินเอง


Q : หลักเกณฑ์ร่วมลงทุน (Venture Capital)

1. ต้องเป็นนิติบุคคลที่เป็น บริษัทจำกัด
2. ธพว. จะเข้าซื้อหุ้นใหม่เพิ่มทุน วงเงินไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อรายลูกค้า
3. ธพว. จะต้องไม่ถือหุ้นเกิน ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น
4. ธพว. ต้องไม่ใช่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ
5. การนำเงินลงทุน (ร่วมลงทุน) ไปใช้ในกิจการ ที่ไม่ใช่
5.1 การชำระหนี้เดิม
5.2 การชำระค่าหุ้นเดิม
6. ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน และต้องระบุโครงการที่จะลงทุนเพิ่มในกิจการ โดยใช้เงินทุนจากการลงทุนใหม่และร่วมทุนได้อย่างชัดเจน ซึ่งแผนธุรกิจและโครงการลงทุนใหม่ ถือเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของสัญญาร่วมลงทุน
7. การเข้าร่วมลงทุน จะไม่เกินเวลา 7 ปี และกำหนดผลตอบแทนให้ ธพว.ไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 7 ของทุกปี โดยมีค่าผลตอบแทน IRR ให้ ธพว. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของทุกปี
8. ธพว. จะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ผู้ถือหุ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คำปรึกษาด้านการเงินและกำกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนธุรกิจ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาร่วมลงทุน


Q : ลูกค้าที่ประสงค์จะร่วมลงทุนกับธนาคาร ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

a. ต้องเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ถ้าใช่ ต้องจดทะเบียนมาแล้วกี่ปี
– ต้องเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น กำลังจะจดก็ได้ แต่ต้องมีพื้นฐานของธุรกิจในปัจจุบันที่จะดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล
b. ต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อยเท่าไหร่
– ชำระเต็ม ไม่ควรต่ำกว่า 1 ล้านบาท
c. มีขาดทุนสะสมได้หรือไม่ ถ้าได้ ได้เป็นสัดส่วนเท่าไรของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
– ส่วนของทุนติดลบไม่ได้ ต้องลดทุนและเพิ่มทุนใหม่ก่อน ขาดทุนสะสมได้ ไม่มีข้อกำหนดว่าได้เท่าไหร่ของทุนจดทะเบียน แต่ต้องมีแผนที่ชัดเจนในการแก้ไขขาดทุนสะสมหลังการเพิ่มทุน
d. ต้องมีบัญชีเดียวหรือไม่
– ใช่ จำเป็นต้องทำบัญชีเดียวที่สามารถตรวจสอบได้
e. ต้องมีกำไรติดต่อกันหรือไม่ ถ้าใช่ ต้องมีกำไรสะสมติดต่อกันกี่ปี
– ไม่มีข้อกำหนด แต่ทำให้กิจการมีสถานะการเงินและประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจดี
f. ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการผู้ไม่มีอำนาจติดเครดิตบูโร ได้หรือไม่
– ไม่มีข้อห้าม แต่ต้องไม่ใช้เจ้าของตัวจริงและหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
g.ต้องเป็นสมาชิกกับพันธมิตรของธนาคารหรือไม่
– ไม่มีข้อกำหนด แต่ถ้ามีจะเป็นผลดีต่อการพิจารณา เพราะมีพี่เลี้ยงคอยติดตาม ปรับปรุง แก้ไข ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
h. นอกเหนือจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ธุรกิจใดที่ธนาคารสนใจ
– ธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ในอนาคต คุ้มกับเงินลงทุนของธนาคาร รายได้มีความมั่นคงและมีโอกาสเติบโต อย่างต่อเนื่องที่มีสาเหตุมาจากการนำนวัตกรรม / Technology มาใช้ในกิจการ ธุรกิจที่รับงานเป็นครั้งคราว รายได้ไม่ต่อเนื่อง เช่น ก่อสร้าง โรงแรม ร้านอาหาร อาจจะยากที่จะผ่านการพิจารณา


Q : หนังสือค้ำประกันสามารถออกได้ภายในกี่วัน

สามารถออกได้ภายใย 30 นาที ต่อฉบับ (กรณีที่ลูกค้าส่งเอกสารประกอบการขอออกหนังสือค้ำประกันครบถ้วน ถูกต้อง ตามระเบียบคำสั่งธนาคาร


Q : ผู้ประกอบการ จะได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง หากเป็นสมาชิกหน่วยงานพันธมิตร

นอกจากการได้รับแจ้งข่าวสารในวงการธุรกิจที่ทันเหตุการณ์แล้ว สมาชิกยังได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการต่างๆ ของภาครัฐผ่านหน่วยงานพันธมิตร เช่น ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา โอกาสทางการตลาด การจับคู่ธุรกิจ การออกบูธจำหน่ายสินค้า รับคำปรึกษาแนะนำด้านการค้า การลงทุน ปรับปรุงธุรกิจ และด้านสินเชื่อหากส่งผ่านหน่วยงานพันธมิตร จะได้รับการพิจารณาพิเศษเนื่องจากผ่านการคัดกรองจากหน่วยงานพันธมิตร

Skip to content